
กระเบื้องดินเผา กระเบื้องดินเผาไทย วัสดุก่อสร้างตั้งแต่เริ่มปฎิวัติอุตสาหกรรม
www.กระเบื้องดินเผา.com/2024/12/blog-post.html
ส่งแล้วนะคะ กระเบื้องดินเผามุงหลังคา
แบบกระเบื้องสุโขทัย(ใบโพธิ์)เผาเคลือบแดง แบบดั้งเดิม หรือเรียกกนะเบื้องเคลือบดินเผาของไทย
หน้างาน “โรงเรียนวัดเปี่ยมนิโครธาราม” ต.หัวไทร อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
ขอให้น้องๆ เรียนหนังสืออย่างมีความสุข สมหวังในอนาคตนะจ๊ะ
เก็บเกร็ดประวัติเล็กๆของ โรงเรียนวัดเปี่ยมนิโครธาราม มาฝากกัน
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2519 ได้รับการอนุมัติจัดตั้งโดยกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ รับนักเรียนแบบสหศึกษา เดิมชื่อ “โรงเรียนหัวไทรวิทยา ” โดยใช้อักษรย่อ “ทร.ว”
วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2523 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระราชทานนามโรงเรียนให้ใหม่ว่า “โรงเรียนวัดเปี่ยมนิโครธาราม” และใช้อักษรย่อ “ป.ธ.”
วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระราชทานนามโรงเรียนเป็นภาษาอังกฤษว่า
“Wat PiamNigrodharam School”
ฝากไว้บอกต่อคนที่กำลังหาเนอะๆ
สั่งซื้อ กระเบื้องหลังคาวัด หลังคาโบสถ์ คุณภาพดี ราคาตรงจากโรงงานสอบถามสต้อก ปรึกษาการติดตั้ง
กรุณาติดต่อ กระเบื้องดินเผาไทย โรงงาน www.th-tile.com
โทร 089-8342552
ทัก
Line : ying-mhon1
Line: @th-tile
คำว่า “กฐิน การทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน” เป็นชื่อของสังฆกรรมชนิดหนึ่งในพระพุทธศาสนา ที่ใช้พระสงฆ์ร่วมเป็นพยานในการทำ 5 รูปเป็นอย่างน้อย คือ 4 รูป เป็นองค์สงฆ์หรือพยาน และอีก 1 รูปเป็นองค์ครองผ้ากฐินนอกจากนี้คำว่า “กฐิน” เป็นชื่อป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ขึงผ้าในเวลาเย็บจีวร ภาษาไทย เรียกว่า “ไม้สะดึง” ภาษาบาลีใช้คำว่า “กฐิน” ขณะเดียวกันภาษาไทยได้ยืมภาษาบาลีมาเป็นภาษาของตัวเอง กฐิน เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน (โดยได้มาจากการใช้ไม้แม่แบบขึงเย็บ) โดยเรียกทับศัพท์ ไปเลยว่า ผ้ากฐินหรือบุญกฐินกฐินราษฎร์ (กฐินที่ไม่ได้เป็นกฐินหลวง) คือกฐินที่พุทธสาสนิกชนหรือประชาชนทั่วไปมิได้เป็นเชื้อพระวงศ์ที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) และ กฐินตกค้าง คำว่า “กฐินตกค้าง” คือวัดซึ่งพระสงฆ์จำพรรษาและปวารณาแล้ว ไม่มีใครจองกฐินในยุคปัจจุบัน การทอดกฐินโดยทั่วไปนั้นได้ให้ความสำคัญกับ “บริวารกฐิน” มากกว่าส่วนของผ้ากฐินซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการกรานกฐิน ซึ่งในปัจจุบันกฐินราษฎร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐินสามัคคี ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้ความสำคัญในการการรวบรวม เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะทางวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนารวมถึงซ่อมบำรุงอาคาร เช่น เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาวัด ตามสภาพที่ผ่านกาลเวลา และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทานวัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ โดยทั่วไปในประเทศไทยบุญกฐิน มีกำหนดทำกันในระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ สำหรับจุดประสงค์หลักของการทำบุญกฐินนั้น เพื่อที่จะให้พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาแล้วได้มีผ้าผลัดเปลี่ยนใหมโดยได้มีมูลเหตุของบุญกฐินปรากฏในกฐินขันธะแห่งพระวินัยปิฎก และฎีกาสมันตปาสาทิกาในสมัยพุทธกาล ได้มีพระภิกษุจากเมืองปาฐาจำนวน ๓๐ รูป พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี ซึ่งขณะนั้นวันจำพรรษาได้ใกล้เข้ามา พวกภิกษุเหล่านั้นจึงได้พากันจำพรรษาที่เมืองพระเชตวันมหาวิหารตลอดระยะเวลา ๓ เดือนที่จำพรรษาภิกษุเหล่านั้น มีความตั้งใจอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องไปเฝ้าพระพุทธเจ้าให้ได้ ครั้นพอออกพรรษาแล้ว จึงพากันออกเดินทางกรำฝนทนแดดร้อนไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะฤดูฝนยังไม่ล่วงสนิท ทำให้ภิกษุชาวเมืองปาฐาเหล่านั้น เดินทางด้วย จีวรที่เปียกชุ่ม และเปื้อนด้วยโคลนตม พอไปถึงเขตวัดพระเชตวันมหาวิหารได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงเห็นใจในความยากลำบากของภิกษุเหล่านั้นจึงได้อนุญาตให้มีการจัดหาผ้ากฐินหรือผ้าที่เย็บด้วยไม้สะดึง เพื่อนำมาใช้เปลี่ยนแทนผ้าเก่า ฝ่าย นางวิสาขา มหาอุบาสิกา เมื่อได้ทราบถึงพุทธประสงค์แล้วนางก็ได้นำผ้ากฐินไปถวายแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ทั้งนี้นางวิสาขา มหาอุบาสิกา จึงได้เป็นพุทธศาสนิกชนคนแรกที่ได้ถวาย ผ้ากฐินในพระพุทธศาสนา
กระเบื้องดินเผาไทย โรงงาน ไปส่ง กระเบื้องดินเผามุงหลังคา แบบ กระเบื้องสุโขทัย (ใบโพธิ์) เผาเคลือบสีแดงแบบดั่งเดิมของไทย หลายรอบแล้ว ที่ วัดสุทธาราม คลองสาน กทม. มีเรื่องน่าสนใจมาฝากกัน
วัดสุทธารามเป็นวัดโบราณตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. 2411
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2470
แต่สันนิษฐานว่าเป็นวัดโบราณที่น่าจะสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ปัจจุบันสิ่งก่อสร้างอาคารเสนาสนะได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่
พระวิหารและพระอุโบสถหันหน้าสู่คลองบางไส้ไก่ คือหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
วัดสุทธารามมีโบราณวัตถุมากมาย หลายชิ้นถูกโจรกรรมไป ที่หลงเหลืออยู่เช่น
พระบูชาปางต่าง ๆ จานเชิง เครื่องไม้แกะสลัก พระเครื่อง เงินพดด้วง เป็นต้น
ในนามมูลนิธิศรีรัตนโกสินทร์ โดยพระครูไพศาลประชาทร (ดนัย) เจ้าอาวาส
ก่อตั้งมูลนิธิ เมือ ปี พศ. 2521
เริ่มให้บริการฟอกไตแก่ประชาชนในระยะเริ่มต้นด้วยเครื่องฟอกไต 2 เครื่อง
บริการคนไข้ได้เพียงวันละ 6 คน ปัจจุบันมีเครื่องฟอกไต 40 เครื่อง
ฟอกไตให้คนไข้ได้วันละ 100 คน โดยแบ่งเป็น 3 กะ กะละ 4 ชั่วโมงต่อคน
เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์
ค่าบริการสำหรับการฟอกไตแต่ละคนนั้น
ทางมูลนิธิเก็บค่ารักษาพยาบาลตามอัตภาพของคนไข้ เข้ามาครั้งแรกสุดจะเก็บ
1,170 บาท เป็นการคิดจากต้นทุนแต่เป็นอัตราสูงสุด และอาจลดให้เรื่อยๆ
ถ้าหากคนไข้มีปัจจัยน้อย จนกระทั่งเหลือ 100 บาท
หากไม่เก็บค่าใช้จ่ายเลยจะไปไม่รอด ที่เก็บอัตรานี้ยังขาดทุนเดือนละ 2-3
แสนบาท เคยขาดทุนน้อยสุดก็ 1.7 แสนบาท
ตั้งแต่เปิดบริการไม่มีเดือนไหนเสมอตัว หรือมีกำไร
แต่ก็พอใจที่ช่วยเหลือคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ระดับหนึ่ง
ปัจจุบันทางวัดกำลังดำเนินการบูรณะอุโบสถเก่าแก่
และยังต้องการทุนทรัพย์จากผู้มีจิตศัทธาอีกมาก
ภายในวัดมีสิ่งศักดิ์สิทธิมากมายให้สะการะบูชา
และยังมีโบราณวัตถุให้ศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจอีกด้วย
แผนที่ไปวัดสุทธาราม https://goo.gl/maps/pCGnEJV1ND6Tek2SA
ขอบคุณข้อมูลจาก www.th-tile.com
สั่งซื้อ กระเบื้องดินเผา ราคาตรงจากเจ้าของโรงงาน สอบถามสต้อก ปรึกษาการติดตั้ง
กรุณาติดต่อ กระเบื้องดินเผาไทย โรงงาน www.th-tile.com โทร 089-8342552
ทัก
Line : ying-mhon1
https://line.me/ti/p/kSb3Gsmhc6
Lineออฟฟิศ :
https://lin.ee/ZhGmyID