คำว่า “กฐิน การทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน” เป็นชื่อของสังฆกรรมชนิดหนึ่งในพระพุทธศาสนา ที่ใช้พระสงฆ์ร่วมเป็นพยานในการทำ 5 รูปเป็นอย่างน้อย คือ 4 รูป เป็นองค์สงฆ์หรือพยาน และอีก 1 รูปเป็นองค์ครองผ้ากฐินนอกจากนี้คำว่า “กฐิน” เป็นชื่อป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ขึงผ้าในเวลาเย็บจีวร ภาษาไทย เรียกว่า “ไม้สะดึง” ภาษาบาลีใช้คำว่า “กฐิน” ขณะเดียวกันภาษาไทยได้ยืมภาษาบาลีมาเป็นภาษาของตัวเอง กฐิน เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน (โดยได้มาจากการใช้ไม้แม่แบบขึงเย็บ) โดยเรียกทับศัพท์ ไปเลยว่า ผ้ากฐินหรือบุญกฐินกฐินราษฎร์ (กฐินที่ไม่ได้เป็นกฐินหลวง) คือกฐินที่พุทธสาสนิกชนหรือประชาชนทั่วไปมิได้เป็นเชื้อพระวงศ์ที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) และ กฐินตกค้าง คำว่า “กฐินตกค้าง” คือวัดซึ่งพระสงฆ์จำพรรษาและปวารณาแล้ว ไม่มีใครจองกฐินในยุคปัจจุบัน การทอดกฐินโดยทั่วไปนั้นได้ให้ความสำคัญกับ “บริวารกฐิน” มากกว่าส่วนของผ้ากฐินซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการกรานกฐิน ซึ่งในปัจจุบันกฐินราษฎร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐินสามัคคี ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้ความสำคัญในการการรวบรวม เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะทางวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนารวมถึงซ่อมบำรุงอาคาร เช่น เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาวัด ตามสภาพที่ผ่านกาลเวลา และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทานวัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ โดยทั่วไปในประเทศไทยบุญกฐิน มีกำหนดทำกันในระหว่างวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ สำหรับจุดประสงค์หลักของการทำบุญกฐินนั้น เพื่อที่จะให้พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาแล้วได้มีผ้าผลัดเปลี่ยนใหมโดยได้มีมูลเหตุของบุญกฐินปรากฏในกฐินขันธะแห่งพระวินัยปิฎก และฎีกาสมันตปาสาทิกาในสมัยพุทธกาล ได้มีพระภิกษุจากเมืองปาฐาจำนวน ๓๐ รูป พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ พระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี ซึ่งขณะนั้นวันจำพรรษาได้ใกล้เข้ามา พวกภิกษุเหล่านั้นจึงได้พากันจำพรรษาที่เมืองพระเชตวันมหาวิหารตลอดระยะเวลา ๓ เดือนที่จำพรรษาภิกษุเหล่านั้น มีความตั้งใจอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องไปเฝ้าพระพุทธเจ้าให้ได้ ครั้นพอออกพรรษาแล้ว จึงพากันออกเดินทางกรำฝนทนแดดร้อนไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะฤดูฝนยังไม่ล่วงสนิท ทำให้ภิกษุชาวเมืองปาฐาเหล่านั้น เดินทางด้วย จีวรที่เปียกชุ่ม และเปื้อนด้วยโคลนตม พอไปถึงเขตวัดพระเชตวันมหาวิหารได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงเห็นใจในความยากลำบากของภิกษุเหล่านั้นจึงได้อนุญาตให้มีการจัดหาผ้ากฐินหรือผ้าที่เย็บด้วยไม้สะดึง เพื่อนำมาใช้เปลี่ยนแทนผ้าเก่า ฝ่าย นางวิสาขา มหาอุบาสิกา เมื่อได้ทราบถึงพุทธประสงค์แล้วนางก็ได้นำผ้ากฐินไปถวายแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ทั้งนี้นางวิสาขา มหาอุบาสิกา จึงได้เป็นพุทธศาสนิกชนคนแรกที่ได้ถวาย ผ้ากฐินในพระพุทธศาสนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น